หลักสูตรปริญญาโท

คณะศึกษาศาสตร์เปิดการสอนหลักสูตรระดับปริญญาโท ทั้งหมด 2 หลักสูตร ได้แก่

  1. ศษ.ม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  2. ศษ.ม. สาขาวิชาการวิจัยและพุทธปัญญาวิทยาทางการศึกษา

ข้อมูลหลักสูตร

  1. ภาษาไทย : หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
    ภาษาอังกฤษ : Master of Education Program in Educational Administration
  1. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
    ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา)
    ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา)
    ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Education (Educational Administration)
    ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.Ed. (Educational Administration)
  2. วิชาเอกเดี่ยว
    ไม่มี
  3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
    ตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 42 หน่วยกิต
  4. รูปแบบของหลักสูตร 
    5.1 รูปแบบ
    หลักสูตรระดับปริญญาโท
    5.2 ภาษาที่ใช้
    จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย
    5.3 การรับเข้าศึกษา
    รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศที่ใช้ภาษาไทยได้ดี
    5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
    เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง
    5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
    ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

ค่าทำเนียมการศึกษา (เหมาจ่าย)

  • ภาคปกติ ภาคการศึกษาละ 15,000 บาท
  • ภาคนอกเวลาราชการ ภาคการศึกษาละ 20,000 บาท

จุดเด่น

  • เป็นหลักสูตรที่ องค์กรวิชาชีพรับรองหลักสูตร (คุรุสภา) ที่ให้การรับรอง สามารถขอรับใบประกอบวิชาชีพผู้บริหารได้หลังสำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์
  • เป็นหลักสูตรที่สำคัญในวงการศึกษา เป็นที่ต้องการของผู้ที่ต้องการพะฒนางานอาชีพ
  • เป็นหลักสูตรที่ความพร้อมและมีคุณภาพและมาตรฐาน

คุณสมบัติผู้สมัคร

  • เป็นผู้มีคุณสมบัติตามระเบียบมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อ ๑๑
  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
  • ผู้สมัครเข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างประเทศ จะต้องมีคุณสมบัติอย่างอื่นเพิ่มเติมตามที่คณะหรือวิทยาลัยกำหนด

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

  • รับราชการครู และเป็นผู้บริหารสถานศึกษา
  • เป็นผู้บริหารการศึกษา
  • เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย
  • เป็นนักวิชาการอิสระ
  • เป็นอาชีพที่นักศึกษาประกอบอาชีพอยู่ก่อน

ข้อมูลหลักสูตร

  1. ภาษาไทย : หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและพุทธปัญญาวิทยาทางการศึกษา
    ภาษาอังกฤษ : Master of Education in Buddhist Intellectual Science Research
  1. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
    ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การวิจัยและพุทธปัญญาวิทยาทางการศึกษา)
    ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ศษ.ม. (การวิจัยและพุทธปัญญาวิทยาทางการศึกษา)
    ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Education (Buddhist Intellectual Science Research)
    ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.Ed. (Master of Education (Buddhist Intellectual Science Research)
  2. วิชาเอกเดี่ยว
    ไม่มี
  3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
    ตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
  4. รูปแบบของหลักสูตร 
    5.1 รูปแบบ
    หลักสูตรระดับปริญญาโท
    5.2 ภาษาที่ใช้
    จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย
    5.3 การรับเข้าศึกษา
    รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศที่ใช้ภาษาไทยได้ดี
    5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
    เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง
    5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
    ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

ค่าทำเนียมการศึกษา (เหมาจ่าย)

  • ภาคปกติ ภาคการศึกษาละ 15,000 บาท
  • ภาคนอกเวลาราชการ ภาคการศึกษาละ 20,000 บาท

จุดเด่น

  • เป็นหลักสูตรมีลักษณะเป็นพหุสาขาวิชา (Multidisciplinary) ได้แก่ การศึกษา (Education) ประสาทวิทยา (Neuroscience) จิตวิทยา (Psychology) ภาษา (Linguistics) มานุษยวิทยา (Anthropology) ปรัชญา (Philosophy) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) และพุทธศาสน์ (Buddhism) มุ่งพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิธีวิทยาการวิจัยด้านปัญญาทางการศึกษา ที่สอดคล้องกับหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาผ่านกระบวนการวิจัยเป็นฐาน ที่ทันสมัย ผลิตบัณฑิตที่มีความรอบรู้ในศาสตร์ด้านการวิจัย การปัญญาทางการศึกษา และศาสนาขั้นสูง มีความคิดก้าวหน้า มีการทำงานอย่างเป็นระบบ มีหลักฐานอ้างอิง มีความสามารถด้านเชิงวิเคราะห์ และด้านเทคโนโลยี

คุณสมบัติผู้สมัคร

  • สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขา
  • มีคุณสมบัติทั่วไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และหรือตามมติที่ประชุมของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

  • พระสังฆาธิการ
  • พระธรรมทูต
  • นวัตกร
  • นักวิจัย
  • นักสถิติ
  • นักวิเคราะห์และวางแผน
  • ครู
  • อาจารย์
  • นักวิชาการในสถาบันการศึกษา
  • ศึกษานิเทศก์
  • นักพัฒนาการศึกษา
  • ข้าราชการในหน่วยงานของรัฐ
  • นักวิชาการอิสระ
  • วิทยากร
  • ผู้ประกอบการธุรกิจ ด้านการอบรม การวิจัย สถิติ